สงครามไซเบอร์

สงครามไซเบอร์ในปัจจุบัน มีรูปแบบที่พัฒนาไปไกลถึงขั้นการตั้งป้อมยิงโจมตีอีกฝ่าย ด้วยรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งการโจมตีที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันคือ DDos (Distributed Denial of Service) เพื่อให้ Server เป้าหมายใช้งานไม่ได้ แน่นอนว่าผู้ใช้อย่างเราไม่ค่อยจะรู้สึกหรอกครับ เพราะเทคโนโลยีด้าน Security เองก็ได้พัฒนาตามไม่แพ้กัน วันนี้เราจะไปทำความรู้จักกับรูปแบบการทำสงครามไซเบอร์รูปแบบนี้กัน

สงครามไซเบอร์ 

บริษัท Norse ที่ทำธุรกิจด้านการรักษาความปลอดภัยระบบอินเตอร์เน็ตของสหรัฐฯ ซึ่งเปิดตัวเว็บไซต์ http://map.ipviking.com แสดงแผนที่ตรวจจับการก่อเหตุ เจาะระบบจารกรรมข้อมูลออนไลน์ทั่วโลก หรือ “แฮกกิ้งแมพ” ซึ่งแสดงข้อมูลตามเวลาที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง หรือแบบ“เรียลไทม์” พร้อมกับมีสถิติให้ดูด้วยว่า เป้าหมายที่โดนมากที่สุดคือที่ใด แล้วต้นตอมาจากที่ใด และมีรูปแบบการโจมตีแบบใดที่ใช้กันเยอะที่สุด

จากข้อมูลพบว่า สหรัฐฯ เป็นประเทศที่ถูกกลุ่มแฮกเกอร์ หรือกลุ่มอาชญากรคอมพิวเตอร์ ก่อเหตุโจมตีระบบฐานข้อมูลเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมากเป็นอันดับที่ 1 ของโลก

ขณะที่จีนเป็นประเทศต้นทางที่มีการก่อเหตุเจาะระบบโจมตีเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นมากที่สุดในโลก ตามด้วยสหรัฐฯ โดยหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯตกเป็นเป้าโจมตีของกลุ่มแฮกเกอร์มากที่สุดในโลก โดยเฉพาะเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ มีผู้พยายามก่อเหตุโจมตีสูงประมาณ 10 ล้านครั้งต่อ 1 วัน 
จากสถิติที่เห็นใน แฮกกิ้งแมป เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น เพราะระบบนี้ยังไม่สามารถตรวจจับการโจมตีฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นได้อย่างครอบคลุมทั้งหมด

ที่มา www.thairath.tv


วันที่ 23 ธันวาคม 2559

©1999-2025 eideas.co,.ltd. all rights reserved www.eideas.co.th